มหาวิทยาลัยรามคำแหง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
“ รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ ”
ข้อมูลทั่วไป[ซ่อน]อักษรย่อ ม.ร. / RU
ชื่อภาษาอังกฤษ Ramkhamhaeng University
วันสถาปนา พ.ศ. 2514
ประเภท รัฐ มหาวิทยาลัยตลาดวิชา
นายกสภาฯ ประจวบ ไชยสาส์น
อธิการบดี รศ.คิม ไชยแสนสุข
เพลงสถาบัน รามของเรา
สีประจำสถาบัน สีน้ำเงิน-สีทอง
ต้นไม้ สุพรรณิการ์
เว็บไซต์ www.ru.ac.th
ที่อยู่ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก
เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยรามคำแหง (อังกฤษ: Ramkhamhaeng University) สถาบันอุดมศึกษาของรัฐเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชาแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งรับบุคคลเข้าศึกษาโดยไม่สอบคัดเลือกและไม่จำกัดจำนวน ทำการเรียนการสอนแบบตลาดวิชา คือมีการเรียนการสอนในชั้นเรียนเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยปกติ แต่ไม่บังคับเข้าชั้นเรียน อันเป็นระบบเดียวกันกับมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองในอดีต มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทยและมีชื่อเสียงในด้านรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์อย่างมาก
มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง กรุงเทพมหานคร
เนื้อหา [ซ่อน]
1 ประวัติ
1.1 รายนามอธิการบดี
2 สัญลักษณ์ของรามคำแหง
2.1 พระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
2.2 ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
2.3 ตราประจำมหาวิทยาลัย
2.4 สีประจำมหาวิทยาลัย
2.5 คำขวัญประจำมหาวิทยาลัย
3 การจัดอันดับ
4 พระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยรามคำแหง
4.1 พระราชทานพระบรมราโชวาท
4.2 พระราชทานปริญญาบัตรปัจจุบัน
4.3 สถานที่พระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก
5 ที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหงและวิทยาเขต
5.1 มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ส่วนกลาง)
5.2 มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา
5.3 มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตสุโขทัย
6 พื้นที่การศึกษา
6.1 สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติต่างประเทศ
6.2 สถาปัตยกรรมที่สำคัญในมหาวิทยาลัย
7 ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยรามคำแหง
8 เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง
9 วิชาการ
9.1 กลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
9.2 กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
9.3 กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ
9.4 กลุ่มบัณฑิตศึกษา
10 หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับทางมหาวิทยาลัย
11 อ้างอิง
12 ดูเพิ่ม
13 แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้] ประวัติ
มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2514 บนบริเวณที่ดินประมาณ 300 ไร่เศษ บนถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร โดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2514 กำหนดให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยแบบตลาดวิชา[1] กล่าวคือ ให้เปิดรับสมัครบุคคลเข้าเป็นนักศึกษา โดยไม่จำกัดจำนวน และไม่มีการสอบคัดเลือกนับตั้งแต่ได้รับการสถาปนาขึ้นในปี 2514 ทั้งนี้เพื่อแก้ไขการขาดแคลนสถานที่เรียนในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในขณะนั้น ต่อมาได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2541 ขึ้นใช้บังคับแทนกฎหมายฉบับเดิม
ในการตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้มีผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2512 คือ นายประมวล กุลมาตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร สังกัดพรรคสหประชาไทย โดยในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวยังไม่ได้ระบุชื่อมหาวิทยาลัย และสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติรับหลักการเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2512 โดยตั้งคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งมีพลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นประธานกรรมาธิการเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยละเอียด คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้แล้วเสร็จ พร้อมทั้งกำหนดชื่อมหาวิทยาลัยในร่างพระราชบัญญัตินั้นว่า "ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ..." ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. ... เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514
ในระยะเริ่มแรก คณะรัฐมนตรีได้อนุญาตให้ใช้อาคารสถานที่แสดงสินค้านานาชาติ ที่ตำบลหัวหมาก อำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร เป็นที่ตั้งชั่วคราวจนกระทั่งเดือนตุลาคม พ.ศ. 2515 จึงได้อนุญาตให้สถานที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งถาวร และได้มีการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์สถานที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2515 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่นแรก ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ซึ่งถือว่าเป็นวันประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยได้กำหนดให้ วันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยรามคำแหง
ด้วยความเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา ระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเลือกวิธีเรียนที่เหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นของแต่ละบุคคล จึงจัดให้มีการบรรยายในชั้นเรียน สำหรับผู้ที่จะเข้าฟังบรรยายในชั้นเรียน และจัดให้มีสื่อการสอนทางไกลเพื่อศึกษาด้วยตนเอง เช่น ตำราเรียน การบรรยายผ่านวิทยุและโทรทัศน์ ตลอดจนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้นักศึกษาที่มีภาระการงาน หรืออยู่ในท้องถิ่นห่างไกลไม่สามารถเดินทางมาเรียนอย่างสม่ำเสมอได้ อย่างไรก็ตาม ในบางสาขาวิชาที่ต้องมีการฝึกปฏิบัติหรือจำเป็นต้องศึกษาจากผู้สอนอย่างใกล้ชิด มหาวิทยาลัยหรือภาควิชาอาจกำหนดให้นักศึกษาต้องเข้าชั้นเรียน โดยเฉพาะคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงคณะอื่นๆ ในบางรายวิชา
[แก้] รายนามอธิการบดี
นายศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ (พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2517) , (พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2523)
ศาสตราจารย์กำธร พันธุลาภ (พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2521)
นายอภิรมย์ ณ นคร (พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2526)
รองศาสตราจารย์สุขุม นวลสกุล (พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2530)
ดร.ธรรมนูญ โสภารัตน์ (พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2532)
รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล (พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2537)
รองศาสตราจารย์รังสรรค์ แสงสุข (พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2550)
รองศาสตราจารย์คิม ไชยแสนสุข (พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น