มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
“ ศาสตร์แห่งแผ่นดิน
(ทางการ)
ประชาชน คือ เจ้าของประเทศ
เกษตรศาสตร์ คือ ภาษีของประชาชน
(ไม่เป็นทางการ) ”
ข้อมูลทั่วไป[ซ่อน]อักษรย่อ มก. / KU
ชื่อภาษาอังกฤษ Kasetsart University
วันสถาปนา 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486
ประเภท รัฐ
นายกสภาฯ ศาสตราจารย์ ดร.กำพล อดุลวิทย์
อธิการบดี รองศาสตราจารย์ วุฒิชัย กปิลกาญจน์
เพลงสถาบัน เพลงพระราชนิพนธ์ เกษตรศาสตร์
สีประจำสถาบัน สีเขียวใบไม้
ต้นไม้ นนทรี
เว็บไซต์ www.ku.ac.th
ที่อยู่วิทยาเขตบางเขน
ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว
เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
วิทยาเขตกำแพงแสน
ตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน
จังหวัดนครปฐม
วิทยาเขตศรีราชา
ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ
ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองสกลนคร
จังหวัดสกลนคร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตรทางด้านการเกษตร[1] โดยก่อตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 3 ของประเทศ โดยมีปณิธาณในการก่อตั้งเพื่อเป็นคุณประโยชน์แก่การกสิกรรมและการเศรษฐกิจของประเทศ [2][3]
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เริ่มต้นจากการเป็นโรงเรียนช่างไหมในปี พ.ศ. 2447 [4][5] และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนการเพาะปลูก หลังจากนั้นรวมเข้ากับโรงเรียนแผนที่เป็นโรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการ มีผลให้วิทยาการทางการเกษตรพัฒนาและก้าวหน้า มีกิจกรรมและวิชาการต่างๆ ที่ดำเนินการเอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนเสมอมา
ใน พ.ศ. 2486 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีการปรับปรุงและรวมกิจการของวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บางเขนกับโรงเรียนวนศาสตร์ (โรงเรียนการป่าไม้เดิม จังหวัดแพร่) มาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2486 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 โดยแรกเริ่ม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เปิดสอนเฉพาะด้านการเกษตรเท่านั้น แต่ต่อมาได้มีการขยายสาขาวิชาครอบคลุมทั้งด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ บริหารธุรกิจ และศิลปศาสตร์ ตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยสากลอย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้ ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2541 และอยู่ระหว่างกระบวนการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ... สู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาการแปรสภาพจากมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
พิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนกรกฎาคม ในอดีตนิสิตที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะได้รับพระมหากรุณาธิคุณ เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลปัจจุบัน) แต่ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จากทุกวิทยาเขต
เนื้อหา [ซ่อน]
1 ประวัติ
2 ชื่อและความหมาย
3 สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
3.1 ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
3.2 อาคารประจำมหาวิทยาลัย
3.3 เพลงประจำมหาวิทยาลัย
3.4 สีประจำมหาวิทยาลัย
3.5 ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
4 อธิการบดี
5 หน่วยงาน
5.1 วิทยาเขตบางเขน
5.2 วิทยาเขตกำแพงแสน
5.3 วิทยาเขตศรีราชา
5.4 วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
5.5 โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี
5.6 สถาบันสมทบ
6 พื้นที่มหาวิทยาลัย
6.1 ที่ตั้งและอาณาเขต
7 การวิจัย
7.1 มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์
7.2 มหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัย
8 อันดับมหาวิทยาลัย
9 การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย
9.1 ระดับปริญญาตรี
9.2 ระดับปริญญาโท
9.3 ระดับปริญญาเอก
10 ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
10.1 องค์กรกิจกรรมนิสิตในมหาวิทยาลัย
10.2 กิจกรรมวิชาการ
10.3 กิจกรรมศิลปวัฒนธรรม
10.4 กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และอาสาสมัคร
11 วันสำคัญที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
12 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร
13 บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
14 เกร็ด
15 อ้างอิง
16 ดูเพิ่ม
17 แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้] ประวัติ
ในปี พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์) ทรงมีพระราชวินิจฉัยให้อุดหนุนการทำไหมและทอผ้าของประเทศ[6] โดยได้ว่าจ้าง ดร.คาเมทาโร่ โทยาม่า[7][8] จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ทดลองเลี้ยงไหมตามแบบฉบับของญี่ปุ่น สอนและฝึกอบรมนักเรียนไทยในวิชาการเลี้ยงและการทำไหม โดยมี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมช่างไหม กระทรวงเกษตราธิการในขณะนั้น ทรงจัดตั้งโรงเรียนช่างไหม[9] ขึ้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2447[10] ณ ท้องที่ตำบล ทุ่งศาลาแดง กรุงเทพมหานคร ซึ่งนับว่าเป็นสถาบันการศึกษาอันเกี่ยวกับการเกษตรแห่งแรก จากนั้นในภายหลังได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนช่างไหมแห่งนี้ เป็นโรงเรียนวิชาการเพาะปลูก ในปีพ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) เนื่องจากมีวิชาการเพาะปลูกพืชอื่น ๆเข้ามาประกอบ
โรงเรียนเกษตราธิการ พระราชวังวินด์เซอร์ต่อมาโรงเรียนเกษตราธิการ ได้ถือกำเนิดขึ้น ในปี 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 ณ วังสระปทุม[11] โดยที่กระทรวงเกษตราธิการได้ทำการรวบรวมโรงเรียนที่อยู่ในสังกัดของกระทรวง 3 โรงเรียนคือโรงเรียนแผนที่ (จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2425) โรงเรียนกรมคลอง (จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2448) และโรงเรียนวิชาการเพาะปลูก เป็นโรงเรียนเดียวกันเพื่อผลิตคนเข้ารับราชการในกรมกองต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตราธิการ ถือได้ว่าเป็นหลักสูตรระดับอุดมศึกษาวิชาเกษตรศาสตร์ หลักสูตรแรกของประเทศไทย โดยได้เริ่มดำเนินการสอนหลักสูตรใหม่นี้ในปี พ.ศ. 2452
ด้วยเหตุที่วัตถุประสงค์ของโรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการ ตรงกับพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์) ในเรื่องของการจัดตั้ง โรงเรียนข้าราชการพลเรือน[12] ซึ่งได้ทรงจัดตั้งขึ้นในกระทรวงธรรมการ โรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการจากเดิมที่สังกัดกระทรวงเกษตราธิการจึงย้ายมาสังกัดกระทรวงธรรมการ ในปี พ.ศ. 2456โดยใช้ วังวินด์เซอร์[13] เป็นสถานที่ทำการเรียนการสอนของโรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการที่ยุบเข้ารวมกับ โรงเรียนข้าราชการพลเรือน
หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อแรกสร้าง
ภาพขณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานปริญญาบัตร เมื่อในอดีตและในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงส่งนักเรียนไทยไปเรียนต่างประเทศจำนวนมาก ในจำนวนนี้มีพระยาเทพศาสตร์สถิตย์ และ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ทั้ง 2 ท่านได้เริ่มก่อตั้งโรงเรียนด้านการเกษตรโดยสังกัดกระทรวงเกษตราธิการขึ้นมาอีกครั้ง ในนาม "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม" ตั้งอยู่ที่ ตำบลหอวังในปี พ.ศ. 2460 ภายหลังจึงได้มีการย้ายการเรียนการสอนไปที่ ตำบลพระประโทน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ในปี พ.ศ. 2461[14]
ในปี พ.ศ. 2474 หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร และเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ได้ร่วมกันขยายการจัดตั้ง โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ไปสู่ระดับภูมิภาคมากขึ้น โดยภาคกลางตั้งอยู่ที่จังหวัดสระบุรี ภาคเหนือตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ภาคอีสานตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา และภาคใต้ตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา
พ.ศ. 2478 โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมในภูมิภาคต่างๆ ได้ปิดตัวลงตามข้อบังคับของการปรับเปลี่ยนระบบราชการในขณะนั้น จึงได้มีการยุบรวมโรงเรียนในส่วนภูมิภาคทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน หลวงอิงคศรีกสิการ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ และพระช่วงเกษตรศิลปการ (สามบูรพาจารย์ผู้ให้กำเนิดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) [15][16] จึงเสนอให้รักษาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม (ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแม่โจ้)ไว้ที่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพียงแห่งเดียว และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม" ต่อมาจึงได้มีการยกฐานะของโรงเรียนจนก่อตั้งเป็น "วิทยาลัยเกษตรศาสตร์" มีฐานะเป็นกองวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในกรมเกษตรและประมง ตามความต้องการของกระทรวงเกษตราธิการ
ต่อมากระทรวงเกษตราธิการได้จัดตั้งสถานีเกษตรกลางขึ้นในท้องที่ อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานคร) ดังนั้น จึงได้ย้ายวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาตั้งอยู่ที่ อ. บางเขนในปี พ.ศ. 2481 และให้ส่วนราชการที่ อำเภอสันทราย เป็น "โรงเรียนเตรียมเกษตรศาสตร์" เพื่อเป็นการเตรียมนิสิตให้วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ อำเภอบางเขนต่อไป [17]
ในปี พ.ศ. 2486 วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" ในรัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีฐานะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ[18] และให้แต่งตั้งข้าราชการประจำ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการมหาวิทยาลัย หลวงสินธุสงครามชัย ในฐานะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรก มีการเปิดสอนใน 4 คณะ[19] คือ โดยมี คณะกสิกรรมและสัตวบาล คณะการประมง คณะวนศาสตร์ และคณะสหกรณ์ เป็นคณะแรกตั้ง (ในปัจจุบันคือ คณะเกษตร[20] คณะประมง[21] คณะวนศาสตร์[22] คณะเศรษฐศาสตร์[23] และ คณะบริหารธุรกิจ[24])
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น