วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พระเจ้าอโศกมหาราช


พระเจ้าอโศกมหาราช
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
สำหรับภาพยนตร์ ดูที่ อโศกมหาราช

พระเจ้าอโศกมหาราช
พระปรมาภิไธย เทวานัมปิยติสสะ ปิยทัสสี
พระอิสริยยศ พระมหาจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมริยะ
ราชวงศ์ ราชวงศ์โมริยะ
ครองราชย์ พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311
ระยะครองราชย์ 41 ปี
รัชกาลก่อนหน้า พระเจ้าพินทุสาร
รัชกาลถัดไป พระเจ้าทศรถ เมารยะ
ข้อมูลส่วนพระองค์[ซ่อน]พระราชสมภพ พ.ศ. 239
สวรรคต พ.ศ. 311

พระราชบิดา พระเจ้าพินทุสาร
พระราชมารดา พระนางศิริธรรมา [1]
พระมเหสี พระนางอสันธิมิตตา
พระนางเวทิสา
พระนางการุวากี
พระนางปัทมาวตี
พระนางดิศราชเทวี[2]
พระราชโอรส/ธิดา 11 พระองค์[3]



จักรวรรดิโมริยะช่วงรุ่งเรืองที่สุดประมาณ พ.ศ. 278พระเจ้าอโศกมหาราช (เทวนาครี: अशोकः, อังกฤษ: Ashoka the Great; พ.ศ. 240 - พ.ศ. 312 ครองราชย์ พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมริยะ ผู้ปรีชาสามารถพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ ทรงปกครองแคว้นมคธ มีพระราชธานีชื่อว่า ปาฏลีบุตร (ปัจจุบันเรียกว่า ปัฏนะ Patna) ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าพินทุสารแห่งราชวงศ์โมริยะ พระมารดานามว่าศิริธรรม พระเจ้าอโศกมีพระโอรส และธิดา 11 พระองค์

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิอโศกมหาราช หรือพระเจ้าอโศกมหาราช เดิมเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่โหดร้าย ชอบการทำสงครามกับแว่นแคว้นต่าง ๆ จนได้รับสมญานามว่า จัณฑาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้โหดเหี้ยม) แต่หลังจากที่พระองค์หันมานับถือพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงกลายเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์ ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายมากที่สุดในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และจากพระราชกรณียกิจมากมายนานัปการที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญด้วยทศพิธราชธรรมอย่างแท้จริง ทำให้ภายหลังทรงได้รับการขนานพระราชสมัญญานามว่า ธรรมาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้ทรงธรรม)

เนื้อหา [ซ่อน]
1 พระเจ้าอโศกมหาราช กับพระพุทธศาสนา
2 ดำเนินรัฐศาสนโยบาย
3 อัครศาสนูปถัมภก
4 ทรงเป็นหนึ่งใน 6 ในอัครมหาบุรุษ
5 บุรพกรรมของพระเจ้าอโศกมหาราช
6 ดูเพิ่ม
7 อ้างอิง
8 แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] พระเจ้าอโศกมหาราช กับพระพุทธศาสนา
ก่อนที่จะเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา มีความดุร้ายและโหดเหี้ยมเป็นอย่างยิ่ง จนได้รับฉายาว่า จัณฑาโศก แปลว่าอโศกผู้ดุร้าย ต่อมาเมื่อไปรบที่แคว้นกาลิงคะ (ปัจจุบันอยู่รัฐโอริสสา) มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก จึงเกิดความสลดสังเวชในบาปกรรม และตั้งใจแสวงหาสัจธรรมและพบนิโครธสามเณรที่มีกิริยามารยาทสงบเรียบร้อย จึงทรงนิมนต์พระนิโครธโปรดแสดงธรรม พระนิโครธก็แสดงธรรม จึงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ต่อมาได้ฟังพระธรรมจากพระสมุทระเถระทรงส่งกระแสจิตตามพระธรรมเทศนาจนเข้าถึงพระรัตนตรัย พระองค์ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา เช่น ทรงสร้างวัด วิหาร พระสถูป พระเจดีย์ หลักศิลาจารึก มหาวิทยาลัยนาลันทา ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงผนวชขณะที่ยังทรงครองราชย์อยู่ และเลิกการแผ่อำนาจในการปกครอง มาใช้หลักพุทธธรรม (ธรรมราชา) ปกครอง นอกจากนี้พระเจ้าอโศกมหาราชยังทรงส่งสมณะทูตไปเผยแพร่ศาสนา โดยแบ่งเป็น 9 สาย สายที่ 8 มาเผยแพร่ที่ สุวรรณภูมิ โดยพระโสณะและพระอุตระเป็นสมณะทูต และพระองค์เป็นผู้จัดการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่3 ณ วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร

ต่อมาก็ทรงโปรดเกล้าให้สร้างบ่อน้ำ ที่พักคนเดินทาง โรงพยาบาล และปลูกต้นไม้ เพื่อจัดสาธารณูปโภคและสาธารณ ตามหลักพุทธธรรม ต่อจากนั้นก็เสด็จไปพบสังเวชนียสถาน4แห่ง เป็นผู้แรก และทรงสถาปนาให้เป็นเป็นสถานที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนในเวลาต่อมา นับว่าพระองค์เป็นอัครศาสนูปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และต่อมาพระองค์ทรงได้สมญานามว่า ธรรมมาอโศก แปลว่า อโศกผู้ทรงธรรม ทรงครองราชย์ได้41ปี


หัวเสารูปสิงห์ 4 ทิศ รัฐบาลอินเดีย นำมาใช้เป็นตราราชการแผ่นดิน[แก้] ดำเนินรัฐศาสนโยบาย
ด้วยทรงถือหลักธรรมวิชัยปกครองแผ่นดินโดยธรรม ยึดเอาประโยชน์สุขของพสกนิกรของพระองค์เป็นที่ตั้ง ทรงส่งเสริมสารธารณูปการ และประชาสงเคราะห์ ทรงทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในชมพูทวีปอย่างกว้างขวาง ได้เป็นบ่อเกิดอารยธรรมที่มั่งคงไพศาล อนุชนได้เรียกขานพระนามของพระองค์ด้วยความเคารพเทอดทูน ยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์หลายองค์ที่พิชิตนานาประเทศด้วยสงคราม แม้พระนามของพระองค์ก็ปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน

[แก้] อัครศาสนูปถัมภก
พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ในชมพูทวีป ทรงเป็นพระอัครศาสนูปถัมภกทั้งฝ่ายมหายาน และฝ่ายเถรวาท ตามพระราชประวัติในคัมภีร์อโศกาวทาน ของฝ่ายมหายาน ใน อรรถกถาสมันตปาสาทิกา คัมภีร์ทีปวงศ์ และคัมภีร์มหาวงศ์ ของฝ่ายเถรวาท และทรงอุปถัมภ์ผู้ที่นักถือศาสนาเชน โดยการถวายถ้ำหลายแห่ง ให้แก่เชนศาสนิกชน เพื่อไปประกอบพิธีทางศาสนา

[แก้] ทรงเป็นหนึ่งใน 6 ในอัครมหาบุรุษ
เอช. จี. เวลส์ (H.G.Wells) นักเขียน (The father of science-fiction)ในตะวันตกก็ยกย่องพระเจ้าอโศกมหาราช ว่าทรงเป็นอัครมหาบุรุษท่านหนึ่ง ใน 6 อัครมหาบุรุษแห่งประวัติศาสตร์โลก คือ พระพุทธเจ้า โสเครติส อริสโตเติล โรเจอร์ เบคอน และอับราฮัม ลิงคอล์น


พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอโศกมหาราช ในประเทศไทย[แก้] บุรพกรรมของพระเจ้าอโศกมหาราช
กล่าวว่าด้วยเหตุอันที่พระเจ้าอโศกเป็นใหญ่ในชมพูทวีป เพราะได้เคยถวายน้ำผึ้งแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า
กล่าวว่าด้วยเหตุอันที่พระเจ้าอโศกผูกพันกับนิโครธสามเณรเมื่อแรกพบ เพราะเมื่อชาติอดีตที่เป็นพ่อค้าขายน้ำผึ้ง เป็นพี่น้องกัน รวมทั้งพระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ ที่ลังกาทวีป
หลังจากที่พระเจ้าอโศกมหาราชสิ้นพระชนม์ พระองค์ก็ได้ไปบังเกิดเป็นงูเหลือม เพราะก่อนพระองค์จะสวรรคตพระองค์ทรงพระดำริที่จะถวายพระราชทรัพย์ถวายไว้ในพระศาสนาอีก ได้มีขุนนางมาทัดทาน พระองค์จึงเกิดจิตโทสะ เมื่อสิ้นพระชนม์ จึงได้ไปเกิดสู่ทุคติภูมิ แต่หลังจากนั้นพระองค์ได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระมหินทเถระ พระราชโอรสซึ่งบรรลุพระอรหันต์แล้ว จนได้บรรลุพระโสดาบัน และ พองูเหลือมซึ่งก็คือพระเจ้าอโศกมหาราชได้ตายแล้ว ดวงวิญญาณของพระองค์ก็ได้ล่องลอยสู่สรวงสวรรค์ ด้วยผลบุญที่พระองค์ทรงเคยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างใหญ่หลวง
พอมาสมัยยุคปัจจุบันนั้น ในประเทศไทยมีพระอริยสงฆ์ซึ่งได้บรรลุธรรมสูงสุดจำนวนมาก ซึ่งส่วนมากเป็นศิษย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ ท่านพ่อลี ธัมธโร ซึ่งได้บรรลุธรรมสูงสุดแล้ว (พระอรหันต์) ได้เล่าถึงอดีตชาติว่าชาติก่อนท่านเป็นพระเจ้าอโศกมหาราช[ต้องการอ้างอิง]
พระเจ้าอโศกทรงขุดพบสถานที่เผาพระพุทธสรีระหรือที่เรียกกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น