วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
สำหรับความหมายอื่น ดูที่ พระเจ้าอู่ทอง

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
ราชวงศ์ ราชวงศ์อู่ทอง
ครองราชย์ พ.ศ. 1893
ระยะครองราชย์ 19 ปี
รัชกาลก่อนหน้า พระเจ้าบรมราชา
(อาณาจักรละโว้ ราชวงศ์สายน้ำผึ้ง)
รัชกาลถัดไป สมเด็จพระราเมศวร
พระพุทธปฏิมา
ประจำรัชกาล พระพุทธรูปปางประทานเอหิภิกขุ ณ หอราชกรมานุสรณ์
ข้อมูลส่วนพระองค์[ซ่อน]สวรรคต พ.ศ. 1912

พระราชชนก มีหลายตำนาน
พระราชชนนี มีหลายตำนาน
พระมเหสี ไม่ปรากฏพระนาม
(พระกนิษฐาในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1)
พระราชโอรส/ธิดา - สมเด็จพระราเมศวร


สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือ พระเจ้าอู่ทอง ทรงเป็นพระปฐมบรมกษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 1857 ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรอยุธยา เมื่อ จุลศักราช 712 ปีขาล โทศก วันศุกร์ เดือนห้า ขึ้นหกค่ำ เวลา 3 นาฬิกา 9 บาท (ตรงกับ พ.ศ. 1893) มีพระนามเต็มว่า สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมบพิตร พระเจ้าอยู่หัว และเสด็จสวรรคต เมื่อ ปีระกา เอกศก จุลศักราช 731 (ตรงกับ พ.ศ. 1912) ครองราชสมบัติ 20 ปี ผู้สืบราชพระราชบัลลังก์ต่อคือ สมเด็จพระราเมศวร

เนื้อหา [ซ่อน]
1 พระนาม
2 ที่มาของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
3 พระราชกรณียกิจ
3.1 การทำสงครามกับเขมร (ในคราวขอมแปรพักตร์)
3.2 ตรากฎหมาย
3.3 การศาสนา
4 พระโอรส
5 อ้างอิง
6 ดูเพิ่ม

[แก้] พระนาม
สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมบพิตร (พระนามในพระราชพิธีขึ้นครองราชย์)
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (หลังจากขึ้นครองราชย์)
พระยาอู่ทอง (ก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์)
สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทร บรมมหาจักรพรรดิศรราชาธิราช (ในโองการแช่งน้ำ)
สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสุนทรบรมจักรพัตราธิราช (ในกฎหมายลักษณะอาญาราษฎร์)
สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุรินทร บรมจักรพรรดิศร บวรมหาธรรมิกราชาธิราช (ในกฎหมายลักษณะอาญาหลวง)
[แก้] ที่มาของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร บทความที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงเลยอาจพิจารณาให้ลบ

แนวความคิดที่ 1
พระเจ้าอู่ทองมาจากอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นแนวความคิดของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ แต่ในปัจจุบันแนวความคิดนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้วเนื่องจากการสำรวจหลักฐานทางโบราณคดีของ อ.มานิต วัลลิโภดม ที่เมืองอู่ทองแล้วพบว่า เป็นศิลปกรรมสมัยทวารวดีตอนปลาย ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ทั้งสิ้น แล้วประมาณอายุเมืองนี้ว่าต้องร้างไปก่อนสมัยสมเด็จพระรามาธิบดี ผู้สร้างพระนครศรีอยุธยาราว 200 ปี ศาสตราจารย์ชอง บวสเซอลิเย่ แห่งมหาวิทยาลัยปารีส ประเทศฝรั่งเศสมาร่วมขุดค้นทางโบราณคดีที่เมืองอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2511 สรุปว่าเมืองอู่ทองโบราณนี้ร้างไปแล้วเป็นเวลาถึง 300 ปีก่อนยุคของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1

แนวความคิดที่ 2
สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มผู้ปกครองทางเหนือ ในตำนานสิงหนวัติกล่าวว่า พระเจ้าอู่ทองสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าพรหมกุมาร มีต้นวงศ์อยู่ที่เมืองเชียงแสนหรือแคว้นโยนกนคร ต่อมาพระเจ้าพรหมได้อพยพมาสร้างเมืองที่เชียงรายหรือเวียงไชยปราการ กษัตริย์ที่เวียงไชยปราการที่ปกครองสืบต่อมาถูกเมืองสุธรรมวดีรุกราน จึงอพยพอยู่แถบบริเวณเมืองไตรตรึงส์สืบต่ออายุมาหลายชั่วคน จนถึงพระเจ้าอู่ทองหรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ที่ได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

แนวความคิดที่ 3
แนวความคิดที่ว่าพระเจ้าอู่ทองเป็นชาวจีน เป็นเพียงการอ้างอิงจากพงศาวดารฉบับวันวลิต อีกทั้งก็ไม่มีหลักฐานทางโบราณคดีมาสนับสนุน ข้อสันนิษฐานนี้จึงไม่มีน้ำหนักมากพอเช่นกัน

แนวความคิดที่ 4
พระเจ้าอู่ทองมาจากเมืองเพชรบุรี(พริบพรี) ที่กล่าวถึงในจดหมายเหตุลาลูแบร์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ รวมถึงยังมีตำนานที่กล่าวอ้างอิงถึงอยู่บ้าง โดยกล่าวว่า สมเด็จพระบรมราชาสถาปนาพระพุทธไตรรัตนนายกได้ 1 ปีก็เสด็จออกผนวช แล้วสถาปนาเจ้าชายวรเชษฐ์ ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ครั้นลาสิกขาแล้ว ก็โปรดให้เจ้าชายวรเชษฐ์ไปครองเมืองเพชรบุรี ซึ่งตำนานระบุว่าต่อมาคือสมเด็จพระรามาธบดีที่ 1

แนวความคิดที่ 5
พระเจ้าอู่ทองอยู่ที่บริเวณอยุธยานี้เดิมอยู่แล้ว เดิมเป็นเจ้าเมืองอโยธยา เมื่อมีโรคระบาดดังกล่าวก็ได้เสด็จมาสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณที่เป็นกรุงศรีอยุธยาในปัจจุบัน

แนวความคิดที่ 6
พระเจ้าอู่ทองสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองลพบุรี โดยอ้างหลักฐานทางลายลักษณ์อักษรจากชินกาลมาลีปกรณ์ ที่กล่าวถึงกษัตริย์จากเมืองอโยธยปุระเสด็จมาจากเมืองกัมโพชหรือลพบุรีในปัจจุบันมายึดเมืองชัยนาทหรือพิษณุโลกในปัจจุบัน แล้วตั้งขุนนางชื่อวัฏเดชหรือขุนหลวงพะงั่วครองเมืองสุพรรณภูมิ ญาติของวัฏเดชได้อภิเษกกับพระเจ้าอู่ทองแล้วพระองค์ก็ได้เสด็จกลับไปที่เมืองอโยธยปุระ

ตามหลักฐานและโบราณคดี
ทฤษฎีเกี่ยวกับที่มาของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ในแนวคิดที่ 4 5 และ 6 สามารถผนวกรวมกันได้ กล่าวคือ เมื่อพิจารณาตำนานทั้งหลายแล้ว เจ้าชายวรเชษฐ์ ทรงเป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมราชา กษัตริย์แห่งอาณาจักรละโว้ (แนวความคิดที่ 6) ต่อมาพระราชชนกโปรดให้ไปครองเมืองพริบพรี (แนวความคิดที่ 4) และหลังจากพระราชชนกเสด็จสวรรคตแล้ว ทรงกลับมาครองเมืองอโยธยา (แนวความคิดที่ 5) จากนั้นจึงเกิดโรคระบาด จึงทรงย้ายที่ตั้งเมืองมายังตำแหน่งปัจจุบัน

[แก้] พระราชกรณียกิจ
[แก้] การทำสงครามกับเขมร (ในคราวขอมแปรพักตร์)
ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 พระองค์ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับแว่นแคว้นต่างๆมากมาย แม้กระทั่ง ขอม ซึ่งก็เป็นมาด้วยดีจนกระทั่งกษัตริย์ขอมทรงสวรรคต พระราชโอรสนาม พระบรมลำพงศ์ ทรงขึ้นครองราชย์ ซึ่งพระบรมลำพงศ์ก็แปรพักตร์ไม่เป็นไมตรีดังแต่ก่อน สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 จึงมีบัญชาให้ สมเด็จพระราเมศวร ยกทัพไปตีกัมพูชา และให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 หรือ ขุนหลวงพะงั่ว ทรงยกทัพไปช่วย จึงสามารถตีเมืองนครธมแตกได้ พระบรมลำพงศ์ทรงสวรรคตในศึกครั้งนี้ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 จึงแต่งตั้ง ปาสัต พระราชโอรสของพระบรมลำพงศ์เป็นกษัตริย์ขอม

[แก้] ตรากฎหมาย
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงประกาศใช้กฎหมายถึง 10 ฉบับ ในรัชสมัยของพระองค์ ได้แก่

พระราชบัญญัติลักษณะพยาน
พระราชบัญญัติลักษณะอาญาหลวง
พระราชบัญญัติลักษณะรับฟ้อง
พระราชบัญญัติลักษณะลักพา
พระราชบัญญัติลักษณะอาญาราษฎร์
พระราชบัญญัติลักษณ์โจร
พระราชบัญญัติเบ็ดเสร็จว่าด้วยที่ดิน
พระราชบัญญัติลักษณะผัวเมีย
พระราชบัญญัติลักษณะผัวเมีย (อีกตอนหนึ่ง)
พระราชบัญญัติลักษณะโจรว่าด้วยโจร
ในประวัติศาสตร์บางแหล่งบอกว่ามีมากกว่านี้ แต่เท่าที่หาหลักฐานได้ มีเพียงเท่านี้เท่านั้น

[แก้] การศาสนา
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างวัดต่างๆ เช่น

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดพุทไธสวรรย์ เมื่อปี พ.ศ. 1876
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดป่าแก้ว เมื่อปี พ.ศ. 1900
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดพระราม เมื่อปี พ.ศ. 1912



[แก้] พระโอรส
พระราเมศวร พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา
[แก้] อ้างอิง
จิตร ภูมิศักดิ์. ข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา. ดวงกมล : กรุงเทพฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น