วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คริสต์มาส


คริสต์มาส
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
สำหรับความหมายอื่น ดูที่ คริสต์มาส (แก้ความกำกวม)
ดูเพิ่มที่ Xmas

ต้นคริสต์มาส
โหราจารย์เดินทางมาพบพระกุมาร
ซานตาคลอสคริสต์มาส (อังกฤษ: Christmas, Christ's mass, Xmas Nativity, Yuletide, Noel หรือ Winter Pascha) เป็นเทศกาลประจำปี ซึ่งในศาสนาคริสต์ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู[1][2] ในหลายประเทศ คริสต์มาสตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม ของทุกปี (ในอาร์เมเนีย ตรงกับวันที่ 6 มกราคม และในนิกายออร์โธด็อกซ์บางส่วน ตรงกับวันที่ 7 มกราคม[3]) แต่ก็ไม่เป็นที่เชื่อกันว่าวันนี้เป็นวันคล้ายวันประสูติของพระเยซูจริง สำหรับสาเหตุที่เลือกวันดังกล่าวแต่เดิมมีอยู่หลายประเด็น ซึ่งอาจเป็นเพราะว่า วันนี้เป็นเวลาเก้าเดือนพอดีหลังจากนางมารีย์รับการประสูติของพระเยซู[4] ตรงกับเทศกาลบูชาสุริยเทพของโรมันโบราณ[5] หรือไม่ก็ตรงกับเหมายันในซีกโลกเหนือ[6] คริสต์มาสเป็นศูนย์กลางของคริสต์มาสและเทศกาลวันหยุด ในศาสนาคริสต์ คริสต์มาสเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลคริสต์มาส ซึ่งเป็นวันหยุดยาว 12 วัน[7]

ถึงแม้ว่าแต่เดิมคริสต์มาสจะเป็นเทศกาลที่เฉลิมฉลองโดยคริสเตียน แต่ผู้ที่มิได้นับถือศาสนาคริสต์จำนวนมากก็ได้จัดงานเฉลิมฉลองคริสต์มาสอย่างกว้างขวาง[8][9][10] และประเพณีที่ได้รับความนิยมของคริสต์มาสในปัจจุบันมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ก่อนศาสนาคริสต์หรือมาจากทางโลก ซึ่งรวมไปถึง การให้ของขวัญ เพลงคริสต์มาส การแลกเปลี่ยนการ์ดคริสต์มาส การตกแต่งโบสถ์คริสต์ การรับประทานอาหารมื้อพิเศษ และการตกแต่งอาคารต่าง ๆ ด้วยต้นคริสต์มาส มิสเซิลโท หรือฮอลลี่ เป็นต้น และยังมีตำนานอันเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายเกี่ยวกับซานตาคลอส (หรือ ฟาเธอร์คริสต์มาส) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการให้ของขวัญแก่เด็ก ๆ ระหว่างเทศกาลคริสต์มาส[11]

เนื่องจากการให้ของขวัญและผลกระทบจากเทศกาลคริสต์มาสในอีกหลายแง่มุมได้ทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างมาก ทั้งในกลุ่มคริสเตียนและผู้ที่ไม่ใช่คริสเตียน วันดังกล่าวจึงกลายเป็นเหตุการณ์สำคัญและช่วงเวลาสำหัรบสินค้าลดราคาสำหรับผู้ค้าปลีกและธุรกิจ ผลกระทบทางเศรษฐกิจของคริสต์มาสเป็นปัจจัยที่ได้เติบโตขึ้นอย่างคงที่ตลอดช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาในหลายภูมิภาคของโลก

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ศัพทมูลวิทยา
2 การเฉลิมฉลอง
2.1 วันที่จัดเทศกาล
2.2 คำอวยพร
2.3 ซานตาคลอส
2.4 ต้นคริสต์มาส
2.5 เพลงคริสต์มาส
2.6 การทำมิสซาเที่ยงคืน
2.7 เทียนและพวงมาลัย
3 ประวัติ
4 อ้างอิง

ศัพทมูลวิทยา
คำว่า Christmas ในภาษาอังกฤษ เป็นคำประสมซึ่งหมายถึง "มิสซาของคริสต์" มาจากคำในภาษาอังกฤษยุคกลางว่า Christemasse และภาษาอังกฤษโบราณว่า Cristes mæsse ซึ่งถูกพบครั้งแรกในเอกสารโบราณภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1038[2] คำว่า "Cristes" มาจากภาษากรีก Christos และ "mæsse" มาจากภาษาละติน missa (หมายถึง มิสซาอันศักดิ์สิทธิ์) ในภาษากรีกโบราณ ตัวอักษร Χ เป็นตัวอักษรแรกในคำว่า "คริสต์" จากการที่มันมีลักษณะเหมือนกับอักษรโรมัน X จึงได้ถูกใช้เพื่อย่อคำว่า "คริสต์" นับตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรษที่ 16[12] ด้วยเหตุนี้ ในบางครั้ง Xmas จึงใช้เพื่อย่อคำว่า "คริสต์มาส"

การเฉลิมฉลอง
วันคริสต์มาสได้รับการเฉลิมฉลองเป็นเทศกาลหลักและเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศทั่วโลก รวมไปถึงประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่มิใช่คริสเตียน ในบางประเทศที่มิใช่คริสเตียน คริสต์มาสได้ถูกนำเข้าสู่วัฒนธรรมของประเทศนั้น ๆ ระหว่างที่อยู่ภายใต้การปกครองแบบอาณานิคม (เช่น ฮ่องกง) ส่วนในประเทศอื่น ประชากรค่อย ๆ รับเอาการเฉลิมฉลองของชนกลุ่มน้อยคริสเตียนหรืออิทธิพลจากวัฒนธรรมต่างประเทศ ในหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่นและเกาหลี ซึ่งคริสต์มาสได้รับความนิยมแม้ว่าจะมีประชากรนับถือศาสนาคริสต์เป็นส่วนน้อย ได้รับเอามุมมองทางโลกของคริสต์มาสหลายอย่าง เช่น การให้ของขวัญ การตกแต่งอาคารสถานที่ และต้นคริสต์มาส ประเทศที่ซึ่งคริสต์มาสไม่ใช่วันหยุดราชการ ตัวอย่างเช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน (ยกเว้นฮ่องกงและมาเก๊า) ญี่ปุ่น ซาอุดิอาระเบีย อัลจีเรีย ไทย เนปาล อิหร่าน ตุรกี และเกาหลีเหนือ การเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสรอบโลกอาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละชาติ

ในกลุ่มประเทศที่มีประเพณีคริสเตียนมั่นคง การเฉลิมฉลองคริสต์มาสที่มีความหลากหลายได้รับการปรับปรุงกระทั่งกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นและภูมิภาค สำหรับคริสเตียน การเข้าร่วมในศาสนพิธีถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการยอมรับเทศกาลดังกล่าว คริสต์มาส ตลอดจนเทศกาลอีสเตอร์ เป็นช่วงเวลาที่มีคนเข้าโบสถ์มากที่สุดในแต่ละปี ในประเทศคาทอลิก ประชากรจัดการเดินขบวนทางศาสนาหรือขบวนแห่ก่อนคริสต์มาส ในประเทศอื่น ได้มีการจัดการเดินขบวนทางโลกหรือขบวนแห่ซึ่งนำเสนอซานตาคลอสและสัญลักษณ์ของเทศกาลอื่น ๆ ซึ่งมักจัดขึ้นบ่อยครั้ง การกลับมาพบปะกันของครอบครัวและการแลกของขวัญได้กลายมาเป็นลักษณะเด่นของเทศกาลที่มีอย่างกว้างขวาง การให้ของขวัญเป็นประเพณีที่มีในประเทศส่วนใหญ่ ส่วนวันอื่นที่มีการแลกของขวัญ ได้แก่ วันนักบุญนิโคลัส ตรงกับวันที่ 6 ธันวาคม และการเสด็จมาของพระเยซูคริสต์ ตรงกับวันที่ 6 มกราคม

วันที่จัดเทศกาล
เป็นเวลาหลายศตวรรษ นักเขียนคริสเตียนยอมรับว่าคริสต์มาสเป็นวันประสูติของพระเยซูที่ถูกต้อง จนกระทั่งในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักวิชาการได้เริ่มต้นเสนอคำอธิบายอย่างอื่นแทน ไอแซก นิวตัน ได้แย้งว่า วันที่จัดเทศกาลคริสต์มาสเป็นไปตามเหมายัน ซึ่งชาวโรมันเรียกว่า บรูมา และจัดงานเฉลิมฉลองในวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี[13] ใน ค.ศ. 1743 คริสตเตียนนิกายโปรแตสแตนท์ชาวเยอรมัน พอล แอร์นสก์ จาบลอนสกี ได้ให้เหตุผลว่า การเลือกวันที่ 25 ธันวาคมเพื่อเฉลิมฉลองคริสต์มาสนั้นตรงกับวันหยุดของโรมัน ดีเอส นาตาลิส โซลิส อินวิกติ และดังนั้นจึงเป็นการทำให้ศาสนจักรที่แท้จริงเสื่อมทรามลง ตามประเพณีจูเดโอ-คริสเตียน เชื่อกันว่าการทรงสร้างดังที่ได้บรรยายในพระธรรมปฐมกาล เกิดขึ้นในวันวสันตวิษุวัต คือ วันที่ 25 มีนาคมในปฏิทินโรมัน วันที่ดังกล่าวปัจจุบันได้เฉลิมฉลองเป็นวันการประกาศของเทพและการครบรอบการมาบังเกิดเป็นมนุษย์ของพระเยซู[14] ใน ค.ศ. 1889 หลุยส์ ดือแชน เสนอว่าวันคริสต์มาสสามารถคำนวณได้โดยบวกเวลาเข้าไปเก้าเดือนนับตั้งแต่วันการประกาศของเทพ ซึ่งเป็นวันที่ความเข้าใจดั้งเดิมเกี่ยวกับพระเยซู[15]

คำอวยพร
คำอวยพรสำหรับเทศกาลคริสมาสใช้ คำอวยพรว่า Merry Christmas สุขสันต์วันคริสต์มาส คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส ต่อมาคือ "เพลง" ที่ใช้เฉลิมฉลองทั้งจังหวะช้าและจังหวะสนุกสนาน ส่วนใหญ่แต่งในยุคพระราชินีวิกตอเรียแห่งอังกฤษ (ค.ศ.1840-1900) ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วโลกโดยแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย

ซานตาคลอส
นักบุญ(เซนต์)นิโคลัสแห่งเมืองไมรา นักบุญองค์นี้เป็นสังฆราช ของ ไมรา มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่4 ได้รับการยกย่องให้เป็นซานตาคลอสคนแรก เพราะมาวันหนึ่ง เป็นวันคริตส์มาสเซนต์จึงเดินทางแจกของขวัญให้กับเด็กๆอย่างมีความสุข

ต้นคริสต์มาส
ต้นคริสต์มาสหรือต้นสนที่นำมาประดับประดาด้วยดวงไฟหลากสีสัน การตกแต่งนี้ย้อนไปในศตวรรษที่ 8 เมื่อเซนต์บอนิเฟส มิชชันนารีชาวอังกฤษที่เดินทางไปประกาศเรื่องพระเจ้าในเยอรมนี ได้ช่วยเด็กที่กำลังจะถูกฆ่าเป็นเครื่องสังเวยบูชาที่ใต้ต้นโอ๊ก โดยเมื่อโค่นต้นโอ๊กทิ้งก็ได้พบต้นสนเล็กๆ ต้นหนึ่งขึ้นอยู่โคนต้นโอ๊ก ท่านจึงขุดให้คนที่ร่วมพิธีกรรมเหล่านั้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต และตั้งชื่อว่า ต้นกุมารพระคริสต์ ต่อมา มาร์ติน ลูเธอร์ ผู้นำคริสตจักรชาวเยอรมัน ตัดต้นสนไปตั้งในบ้านในเดือนธันวาคม ปีค.ศ.1540 หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 19 ต้นคริสต์มาสจึงเริ่มแพร่ไปสู่ประเทศอังกฤษและทั่วโลก

เพลงคริสต์มาส
เพลงคริสต์มาส เริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 5 ซึ่งผู้แต่งมีทั้งพระสงฆ์และฆราวาส เนื้อร้องเป็นภาษาละติน ลักษณะของเพลงเป็นแบบสง่า เน้นถึงความหมายของการเสด็จมา ของพระเยซูเจ้า แต่ในศตวรรษที่ 12 ได้มีการแต่งในท่วงทำนองที่ร่าเริงสนุกสนานมากขึ้น เริ่มจากประเทศอิตาลี โดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซี และนักบวชคณะฟรังซิสกัน เป็นผู้สนับสนุน ให้มีเพลงคริสต์มาสแบบใหม่ ซึ่งชาวบ้านชอบ คือมีท่วงทำนองที่ร่าเริงกว่า และเน้นถึงความชื่นชมยินดี ในโอกาสคริสต์มาส เพลงเหล่านี้มีทั้งที่เป็นภาษาลาติน และภาษาพื้นเมือง เพลงหนึ่งที่แต่งในสมัยนั้น (แต่งคำร้องในปี ค.ศ.1274) และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน คือ เพลง Oh Come, All Ye Faithful หรือ Adeste Fideles ในภาษาลาติน เพลงคริสต์มาส ที่นิยมร้องมากที่สุดในปัจจุบันได้แต่งขึ้นในศตวรรษที่ 19 จากประเทศเยอรมัน และประเทศอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เพลงที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ เพลง Silent Night, Holy Night ความเป็นมาของเพลงนี้คือ วันก่อนวันฉลองคริสต์มาส ของปี ค.ศ.1818 คุณพ่อโจเซฟ โมห์ (Joseph Mohr) เจ้าอาวาสวัดที่โอเบิร์นดอฟ (Oberndorf) ประเทศออสเตรีย ได้ข่าวว่าออร์แกนในวัดเสีย ทำให้วงขับร้อง ไม่สามารถร้องเพลงตามที่ซ้อมไว้ได้ จึงมีการแต่งเพลงคริสต์มาสใหม่ นำไปเพื่อนชื่อ ฟรานซ์ กรูเบอร์ (Franz Gruber) ใส่ทำนอง ในคืนวันที่ 24 นั้นเอง สัตบุรุษวัดนี้ ก็ได้ฟังเพลง Silent Night เป็นครั้งแรก โดยมีการเล่นกีตาร์ประกอบการขับร้อง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก

การทำมิสซาเที่ยงคืน
เมื่อพระสันตะปาปาจูลีอัสที่ 1 ได้ประกาศให้วันที่ 23 ธันวาคมเป็นวันฉลองพระคริสตสมภพ (วันคริสต์มาส)ในปี นั้นเองพระองค์และสัตบุรุษ ได้พากันเดินสวดภาวนา และขับร้องไปยังตำบลเบธเลเฮม และไปยังถ้ำที่พระ เยซูเจ้าประสูติ พอไปถึงก็เป็นเวลาเที่ยงคืนพอดี พระสันตะปาปาก็ทรงถวายบูชามิซซา ณ ที่นั้น เมื่อเสร็จแล้วก็กลับมาที่พักเป็นเวลาเช้ามืดราวๆ ตี 3 พระองค์ก็ถวายมิสซาอีกครั้ง และ สัตบุรุษเหล่านั้นก็พากันกลับ แต่ก็ยังมีสัตบุรุษหลายคนที่ไม่ได้ไป พระสันตะปาปาก็ทรงถวายบูชามิสซาอีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งที่ 3 เพื่อสัตบุรุษเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้เองพระสันตะปาปาจึงทรงอนุญาตในพระสงฆ์ถวายบูชามิสซาได้ 3 ครั้ง ในวันคริสต์มาส เหมือนกับการปฏิบัติของพระองค์ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงมีธรรมเนียมถวายมิสซาเที่ยงคืน ในวันคริสต์มาส และพระสงฆ์ก็สามารถถวายมิสซาได้ 3 มิสซา ใน โอกาสวันคริสต์มาสด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น